วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา


    ได้แก่การนำเอาบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ การจัดการศึกษาทางไกลตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพทางดาวเทียม หรือการใช้ระบบประชุมทางไกลการให้บริการนักเรียน นักศึกษาค้นหาข้อมูลบนระบบเครือข่าย การนำมาใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด เป็นต้น


การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการบันเทิง


   ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า (E-cinema) กิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์ บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านธุรกิจ


    จากความจำเป็นดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้ธุรกิจมีศักยภาพที่ดีขึ้นเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาช่วยเหลือ สนับสนุนธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น
5.1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เช่น ลดต้นทุนการบริหารจัดการ ลดต้นทุนในการผลิต ช่วยลดบุคลากรหรือใช้บุคลากรในองค์กรได้เต็มศักยภาพมากขึ้น
5.2. ช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์และตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ดีขึ้น
5.3. ช่วยสร้างสรรค์และพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารจัดการให้ได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น
5.4. ช่วยให้องค์บรรลุผลสำเร็จในการจัดการเชิงกลยุทธ์ตามแผนที่วางไว้
5.5. ช่วยให้เกิดการปรับโครงสร้างองค์กรหรือปรับรื้อองค์กรในทิศทางที่ดีได้
5.6. ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนสามารถสั่งการ สื่อสารในองค์กรได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
5.7. ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีค่าและจำเป็นต่อองค์กรได้ดีขึ้น
5.8. ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในตัวสินค้าและการบริการ
5.9. ช่วยเปลี่ยนมุมมองในการบริหารจากหน้าที่มาเป็นกระบวนการ
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในธุรกิจจึงมีแนวทางที่หลากหลายและประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน อาทิ เช่น การประยุกต์ใช้กับงานด้านการผลิต ตั้งแต่การควบคุมการผลิต การวางแผนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลังและช่วยเขียนแบบ ด้านฝ่ายการเงินและบัญชี ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องงบการเงิน การวิเคราะห์งบเพื่อการงบประมาณและการวางแผนการลงทุน ส่วนด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ก็สามารถใช้งานเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาการวางแแผนการเติบโตในหน้าที่การงาน (Career Path) การจัดการเรื่องผลตอบแทนและค่าจ้างต่างๆ ส่วนกระบวนการธุรกิจที่จะขอเน้นมากที่สุดในหนังสือเล่มนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการตลาด ซึ่งมีส่วนปลีกย่อยมากมาย อาทิ
5.9.1. การประมวลผลรายการธุรกรรมการค้ารายวัน (Transaction Processing and Front Store Management)
5.9.2. กระบวนการจัดซื้อจัดหาสินค้า (Electronic Procurement and Purchasing)
5.9.3. การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและการวิเคราะห์การตลาด (Marketing Research and Intelligence System)
5.9.4. การพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการขาย (Sale Forecasting and Sale Management)
5.9.5. การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและการตัดสินใจทางการตลาด

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบ


     การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน
   การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design ; CAD) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ


ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม

   
      เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน